ยังคงอยู่กันในเรื่องของเครื่องมือช่าง สำหรับบทความนี้มาในเรื่องของประแจวัดแรงบิด ฟังชื่ออาจจะแปลกสักหน่อยถ้าไม่ใช่สายช่างโดยเฉพาะคงจะคิดภาพไม่ออกแน่ ๆ ว่าเป็นประแจหน้าตาลักษณะแบบไหน ใช้สำหรับงานประเภทไหนบ้าง จริง ๆ ก็มีชื่อเรียกหลายแบบเหมือนกัน สะดวกเรียกแบบไหนก็ได้ ซึ่งบ้างก็เรียกว่าประแจปอนด์ หรือประแจทอร์ค แต่ต้องเข้าใจก่อนว่าจะวัดแรงบิดที่เป็นค่าของน็อตที่ขันแน่นไปแล้วไม่ได้นะ สำหรับประแจวัดแรงบิดนั้นก็จะมีหน่วยวัดเป็นนิวตันเมตร ชวนมาอ่านทำความเข้าใจว่าประแจประเภทนี้คืออะไร
ประแจวัดแรงบิดมีกี่ประเภทอะไรบ้าง
สำหรับเครื่องมือช่างประเภทนี้หลัก ๆ แล้วจะมีเป็น 2 ประเภทคือมันจะมีเป็นแบบอ่านค่ากับคลิก ซึ่งการใช้ประแจวัดแรงบิดอ่านค่านั้นอาจจะมีการคาดเคลื่อนได้เหมือนกัน อยู่ที่มุม ตำแหน่ง ทักษะการใช้งานด้วย จะทำให้อ่านออกมาได้แม่นแค่ไหน อีกแบบก็จะเรียกว่าเป็นแบบสัญญานเตือน และประเภทที่นิยมมากในปัจจุบันคือประแจวัดแรงบิดแบบดิจิทัล มาดูกันต่อว่าแต่ละประเภทคืออะไรดังนี้
- ประแจวัดแรงบิดประเภทอ่านค่าตรง สำหรับแบบนี้จะมีการแสดงค่าของแรงบิดจริงในขณะที่กำลังใช้งานอยู่ บางรุ่นก็จะมีแสดงบนสเกล บางรุ่นก็จะแสดงข้อมูลค่าบนจอแสดงผล แต่ถามว่ามันเป๊ะมากน้อยแค่ไหน แน่นอนว่ามันไม่ 100% เพราะว่ามันก็มีโอกาสที่จะเกิดความผิดพลาดคาดเคลื่อนในการอ่านค่าได้เหมือนกัน
- ประแจวัดแรงบิดประเภทสัญญานเตือน สำหรับประเภทนี้ก็ง่าย ๆ เลย มันจะทำหน้าที่ด้วยการเตือนไม่ว่าจะเป็นเสียง การสั่น เมื่อมีค่าแรงบิดเกินจากที่ตั้งไว้ ประมาณนี้ก็ต่างจากแบบที่ 1 ตรงที่ มันมีการเตือนขึ้นมานั่นเอง แน่นอนว่าประเภทนี้ก็มีข้อเสียด้วยคือ ถ้าประแจวัดแรงบิดตัวนี้มีผู้ใช้เยอะ แน่นอนว่าแรงบิดมันจะเกิดและเตือนขึ้นมาด้วยนะ
- ประแจวัดแรงบิดดิจิตอล ความน่าสนใจของประแจประเภทนี้คือจะมีทั้งการแสดงผลบนจอ และฟังก์ชันการใช้งานในการวัดที่ค่อนข้างแม่นยำไม่น้อยเลย แต่จะต้องมีการติดตั้งอุปกรณ์ในการตรวจจับอัจริยะด้วยนะ ก็ไม่ได้ยากอะไร คนที่สนใจและอยากใช้ประแจวัดแรงบิดดิจิทัลจริง ๆ ยังไงก็ทำได้ ใช้เป็น และบอกเลยว่ามันแม่นยำกว่าแบบก่อนหน้านี้ที่กล่าวมา
- ประแจวัดแรงบิดชนิดเข็ม ออกจะแปลกสักหน่อยเมื่อเทียบกับประเภทอื่น ๆ สำหรับประแจวัดแบบเข็มนั้นก็จะแม่นยำมาก ๆ เหมือนกัน จะเหมาะกับการใช้กับวัตถุหรือในพื้นที่ค่อนข้างกว้างพอสมควร แต่ถ้าพื้นที่เล็กจะไม่ค่อยเหมาะจะใช้ประเภทนี้
เป็นการบอกรายละเอียดคร่าว ๆ สำหรับประเภทของประแจวัดแรงบิด ช่างแต่ละคนจะเลือกใช้แบบไหน สะดวกแบบใดก็ตัดสินใจกันได้เลย แน่นอนว่าราคาก็มีแตกต่างกันออกไปอยู่ที่แบรนด์ด้วย คุณภาพและมาตรฐานของประแจจะต้องดีด้วย
การทำงานของประแจวัดแรงบิดเป็นอย่างไร
การทำงานของประแจปอนด์หรือประแจวัดแรงบิดก็คือเอาไว้ใช้กับค่าแรงบิดที่ได้มีการตั้งค่าเอาไว้ มันก็อยู่ที่แรงดันของเครื่องมือที่ใช้ด้วย เราจะใช้ประแจตัวนี้ก็เพื่อการอ่านแรงบิด หรือหาแรงบิด โดยจะใช้แรงดัน x ความยาว ก็จะออกมาเป็นแรงบิด นั่นเอง ในปัจจุบันมีหลายประเภทให้เลือกใช้และการอ่านค่าก็แม่นยำมากขึ้นด้วย ในด้ามจับนั้นจะเป็นตัวที่เชื่อมกับมาตรวัด พอมันถึงแรงบิดที่กำหนดก็ให้หยุดบิด การใช้งานไม่มีอะไรยากฝึกใช้กันได้ เวลาจะใช้งานนั้นจะต้องมีการล็อคทุกครั้ง ก่อนหมดก็ปลด พอใช้จบก็ต้องล็อคอีกในระดับที่ต้องการ เพื่อเลี่ยงการคาดเคลื่อน
แต่ว่าการใช้งานประแจวัดแรงบิดนั้นก็ไม่ได้เหมือนกันทุกประเภท อย่างถ้าเป็นแบบคลิกก็จะต้องจับแกนหมุนให้อยู่กับที่ และจับด้ามในอีกมือด้วย พอหมุนไปแล้วก็จะมีเสียงคลิก หากไม่มีเสียงคลิกนั้นก็แปลว่ายังไม่เข้า ยังอ่านค่าไม่ได้นั่นเอง ส่วนอะไรที่ขันแน่นไปแล้วไม่ต้องวัดด้วยประแจอีกเพราะมันจะเคลื่อนได้นะ หากจะวัดก็ต้องคลายก่อน
ประแจวัดแรงบิดดิจิทัลใช้งานยากไหม
ไหน ๆ ยุคนี้ก็ค่อนข้างนิยมประเภทดิจิตอลกันเยอะ เพราะใช้งานง่าย อ่านค่าแรงบิดแม่นยำมากขึ้น การตั้งค่าก็ไม่ได้ยากหากศึกษาให้ดี ปกติก็จะมี 2 โหมด ก็จะเป็นการวัด เราจะรู้และตรวจค่าของแรงบิดได้ในตอนที่ใช้งานเลย และยังตั้งค่าล่วงหน้าได้อีกด้วย ว่าอยากได้ค่าเท่าไหร่ มันก็ง่ายแบบนั้นเลย จึงทำให้ประแจวัดแรงบิดแบบนี้นิยมใช้กันมากขึ้น
สิ่งที่จะต้องระวังในการใช้ประแจวัดแรงบิด
หลัก ๆ เลยก็จะเป็นการใช้งานที่ไม่ถูกตามที่ควรจะเป็น เพราะว่าประแจวัดแรงบิดแต่ละประเภทนั้นมีวิธีการใช้งานอยู่ ปกติก็จะต้องจับให้ถูกถึงจะวัดได้แม่นมากขึ้น บางประเภทก็ยังวัดคาดเคลื่อนได้ ฉะนั้นระวังการจับด้ามตอนขันว่าถูกตำแหน่งไหม นิ้วก็ต้องวางให้ถูกที่ด้วย และในตอนที่ขันเพื่อวัดแรงบิดนั้นขันในแรงพอเหมาะอย่าแรงไป อีกอย่างที่จะต้องคำนึงถึงคือ เวลาจะเลือกใช้ประแจวัดแรงบิดมาใช้งานให้เหมาะกับงาน เพื่อจะได้ค่าที่ถูกต้อง
ประโยชน์ของการใช้ประแจวัดแรงบิด
สำหรับประโยชน์ของการใช้งานประแจปอนด์หรือประแจวัดแรงบิดนั้นคือการใช้งานที่ง่าย สะดวก ใช้ขันได้หลากหลายอย่างมาก ๆ และวัดค่าแรงบิดออกมาได้ แต่ก็ยังเน้นย้ำว่าควรเลือกประเภทของประแจที่ใช้ให้ดีมีมาตรฐานเสมอ เพื่อความปลอดภัยของผู้ใช้งานเอง จะขันน็อต ขันโบลท์ สกรู ขันอะไรต่าง ๆ ได้หมดเลย มีประโยชน์มาก ๆ สำหรับคนเป็นสายช่าง จะช่างยนต์หรือช่างอะไรก็ตามที่จะต้องขันยังไงก็ต้องมีประแจประเภทนี้ติดร้านไว้แน่นอน
ทำความเข้าใจแรงบิดคืออะไร
กล่าวถึงแต่ตัวประแจวัดแรงบิดไปเยอะแล้ว มาพูดถึงตัวแรงบิดกันบ้าง ที่พูดกันว่าแรงบิด ๆ มันคืออะไร คำตอบคือ มันคือปริมาณของแรง งงไหม ? ค่อย ๆ อ่านนะ แรงบิด หรือ Torque หมายถึงปริมาณแรงที่เราจะต้องใช้ในการหมุนประแจนั่นเอง เวลาจะใช้ประแจเราต้องรู้ว่าต้องใช้แรงแค่ไหนในการขันน็อต ขันสกรูหรือขันอะไรก็ตาม จะขันอันนี้ใช้แรงเท่าไหร่ดี อันนั้นเท่าไหร่ดีเราก็ต้องกำหนด เป็นต้น สรุปคือแรงบิดก็แรงที่เราใช้หมุนประแจนั่นเอง
การใช้ประแจวัดแรงบิดให้ถูกและปลอดภัย
เวลาที่จะขันนั้นให้ค่อย ๆ ใช้ ค่อย ๆ ทำ อย่าขันไวไปมันอาจจะแน่นเกิน แล้วเสี่ยงจะทำให้อ่านค่าเคลื่อนได้ เพราะเราอาจจะดูค่าไม่ทัน ฉะนั้นก็ค่อย ๆ ขันนะ ไม่ต้องให้ประแจวัดแรงบิดมีเสียงคลิกหลายครั้งก็ได้ ปกติก็จะมีสัญญานเตือนให้อยู่แล้ว แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นก็อยู่ที่รุ่นและประเภทของประแจด้วย ถ้ามีสัญญานเตือนค่าที่ถูกและเหมาะแล้วก็หยุดนะ อีกอย่างที่ควรทำคือเวลาที่เราใช้ประแจไปนาน ๆ แล้ว อย่าลืมที่จะทดสอบแรงบิดและความแม่นอยู่เสมอ และการใช้ประแจขันล้อรถไม่ต้องขันให้แน่นก่อนนะ เอาให้พอดีก็พอไม่ว่าจะรถอะไรก็เหมือนกัน ขันแค่พอดีและอย่าลืมดูคู่มือด้วย ล้อแต่ละแบบของรถแต่ละรุ่นอาจจะไม่เหมือนกัน
บทสรุป
ประแจวัดแรงบิดนั้นหากเราเลือกใช้ประเภทได้เหมาะกับงาน จะช่วยให้งานสำเร็จลุล่วงได้ดี สำหรับคนที่เป็นช่างจำเป็นอย่างมากที่จะต้องมีเอาไว้ใช้งาน ส่วนจะเลือกเป็นแบบไหน ชนิดไหน ตามสะดวกและงานของแต่ละคนได้เลย เพื่อให้ได้ประแจที่ตรงโจทย์จริง ๆ ควรศึกษาข้อมูล การใช้งาน การอ่านค่าแรงบิดของแต่ละแบบให้ดีก่อนที่จะตัดสินใจทุกครั้ง เพราะมันคือเงินที่เราจะใช้ลงทุนในการซื้อประแจสักตัวมันไม่ได้ถูกเลย โดยเฉพาะการเลือกประแจแรงบิดแบบดิจิตอลราคาจะค่อนข้างสูงเหมือนกัน แต่ว่าไม่ว่าจะเป็นแบบไหนก็มีโอกาสที่อาจคาดเคลื่อนได้เหมือนกัน มาถึงตรงนี้ก็หวังว่าทุกคนพอจะเข้าใจเรื่องของประแจประเภทนี้ได้ไม่มากก็น้อย ก็ขอให้ทุกคนได้ประแจมาใช้งานที่ตรงใจ✪ล้อรถเข็นUSA™