งานเชื่อมคืออะไร เทคนิควิธีให้ได้งานสวย ถูกใจผู้ใช้

งานเชื่อม คืออะไร

การเชื่อมเป็นอีกหนึ่งงานที่จะต้องใช้ทั้งทักษะฝีมือ ความชำนาญการในด้านนี้ เพราะแม้ว่าจะเป็นการทำงานเชื่อมเหมือนกัน แต่ไม่ใช่ช่างเชื่อมทุกคนที่จะทำออกมาได้สวย โดยเฉพาะเป็นงานที่จะต้องทำให้ลูกค้า การเชื่อมโลหะ เชื่อมอะไรต่าง ๆ นั้นจะต้องแน่น ดี สวย ไปพร้อมกัน บทความนี้ชวนทุกท่านที่เป็นช่างเชื่อมทั้งมือเก่า มือใหม่ มาเรียนรู้เกี่ยวกับ“งานเชื่อม”แบบเบื้องต้นว่ามีอะไรบ้าง เผื่อเป็นประโยชน์และนำไปปรับใช้ได้อย่างถูกต้องและถูกใจผู้ใช้มากที่สุด แต่สิ่งหนึ่งที่ทำให้งานออกมาดีคือความตั้งใจและการฝึกฝน เชื่อว่าคุณก็ทำได้ มาทำความเข้าใจพร้อมกันได้เลย

Table of Contents
    Add a header to begin generating the table of contents

    เรียนรู้เกี่ยวกับงานเชื่อมคืออะไร

    หากจะกล่าวให้เข้าใจได้ง่ายที่สุดคือการเชื่อมคือการเอาอะไรสักอย่าง 2 อย่างขึ้นไปมาเชื่อมเข้าด้วยกัน ต่อกัน เชื่อมติดกันนั่นเอง สำหรับงานเชื่อม จะหมายถึงการเชื่อมโลหะ 2 ชิ้น โดยจะมีการใช้ความร้อนทำให้ติดเข้ากัน จนเป็นอันเดียวกัน ในภาษาอังกฤษเรียกว่า Welding โดยความร้อนนั้นจะทำการหลอมละลายโลหะนั้น ๆ หรืออาจจะมีการใช้ลวดเชื่อมมาเติมเพื่อต่อกันก็ได้ ซึ่งจะมีแบ่งประเภทหรือวิธีออกไปหลัก ๆ มี 6 วิธีด้วยกัน จะมี การเชื่อมแก๊ส การเชื่อมไฟฟ้า การเชื่อมอัด การเชื่อม TIG การเชื่อม MIG และ การเชื่อมใต้ฟลักซ์ เป็นต้น ส่วนแต่ละประเภทเป็นการทำงานแบบไหนนั้นจะมีอธิบายในลำดับถัดไป

    6 วิธีการทำงานเชื่อมแบบต่าง ๆ ที่ช่างเชื่อมทุกคนควรรู้

    มาเรียนรู้ลงรายละเอียดกันอีกนิด สำหรับงานเชื่อมในแต่ละแบบ ความยากง่ายต่างกันออกไปและไม่ใช่ทุกงานจะใช้วิธีการเชื่อมแบบเดียวกัน การเลือกวิธีการเชื่อมให้เหมาะกับชิ้นงาน ขนาดงาน ตัวงานสำคัญมากที่จะทำให้งานนั้น ๆ ออกมาเสร็จสมบูรณ์ได้มากที่สุด มาอ่านพร้อมกันเลย 6 วิธีการเชื่อมที่ช่างจะต้องรู้มีดังนี้

    1. งานเชื่อมแก๊ส (Gas Welding) สำหรับการทำงานแบบนี้จะเป็นการใช้ความร้อนให้มีการเผาไหม้ โดยจะใช้แก๊สเชื้อเพลิงอะเซทิลีนกับออกซิเจนเข้ากัน จนทำให้เกิดการหลอมละลายชิ้นงานที่กำลังเชื่อม เรียกว่าการเชื่อมแก๊ส โดยจะมีตัวกลางในการเชื่อมคือ ลวดเชื่อมหรือเรียกว่า Filler Mertel or Welding rod นั่นเอง ถ้าไม่ใช่ลวดก็หลอมให้ตัวโลหะนั้น ๆ ติดกันไปเองเลยก็ได้เหมือนกัน
    2. งานเชื่อมไฟฟ้า (Arc Welding) สำหรับวิธีการเชื่อมแบบไฟฟ้านั้นจะเป็นการใช้ความร้อนเหมือนกัน แต่ว่าจะเป็นความร้อนที่เกิดจากประกายอาร์คระหว่างโลหะหรือชิ้นงานและลวด แล้วจะทำให้มีการหลอมละลาย ลักษณะจะเหมือนการใส่เนื้อของโลหะที่เชื่อมนั้นเข้าไปอีกตรงระหว่างรอยต่อ
    3. งานเชื่อมอัด (Press Welding) ตามชื่อเลยการทำงานเชื่อมแบบนี้จะอาศัยแรงอัดเข้ามาเป็นตัวที่ทำให้โลหะเชื่อมติดกันได้ โดยแรงนั้นรุนแรงมากจนทำให้เกิดการหลอมและละลายได้จนเป็นงานที่ต่อเชื่อมเข้ากัน เพราะว่าการอัดนั้นจะมีความร้อนเกิดขึ้นที่มาจากการต้านไฟฟ้า
    4. งานเชื่อม TIG (Tungsten Inert Gas Welding) สำหรับวิธีนี้ก็มาจากความร้อนจากอาร์คของลวดกับทังสเตนในตอนที่ทำงานเชื่อมโลหะนั่นเอง โดยจะมีแก๊สเฉื่อยมาคลุมแถวบริเวณที่เราเชื่อมชิ้นงานอยู่ การเชื่อมแบบนี้จะทำให้อะไรข้างนอกมาทำปฏิกิริยากับจุดที่กำลังทำงานอยู่เลย
    5. งานเชื่อม MIG (Metal Inert Gas Welding) ข้อนี้ก็เป็นการใช้ความร้อนในการทำงานเชื่อม โดยความร้อนมาจากการอาร์คระหว่างชิ้นงานโลหะนั้น ๆ กับตัวลวดเชื่อม ซึ่งจะนิยมใช้เป็นแบบเปลือยป้อนต่อเนื่องเลยในขณะที่กำลังทำงานอยู่บริเวณของอาร์ค ทำให้โลหะนั้นหลอมลงในบ่อหลอมละลายที่มีแก๊สเฉื่อยคลุมอยู่เพื่อไม่ให้อะไรจากภายนอกมารบกวน
    6. งานเชื่อมใต้ฟลักซ์ (Submerged Arc Welding) หลายคนอาจจะยังไม่รู้จักวิธีการเชื่อมแบบนี้ ซึ่งจะเป็นการใช้ไฟฟ้าที่ได้ความร้อนจากอาร์คระหว่างโลหะกับลวดเปลือยที่ใช้เชื่อม จะมีเป็นฟลักซ์แบบเม็ดคลุมอยู่ที่ฟลักซ์และอาร์ค และส่วนที่ใกล้เนื้อเชื่อมนั้นจะมีการละลายคลุมเนื้อเอาไว้ไม่ให้อากาศด้านนอกมาโดน ตัวฟลักซ์ที่ห่างออกไปจะไม่ได้หลอมละลายใด ๆ และเอามาใช้อีกก็ไม่ได้ด้วย

    ในการทำงานเชื่อมแต่ละแบบจะต้องมีการเรียนรู้ฝึกฝนจนชำนาญก่อน ที่จะนำไปใช้ในการทำงานจริง เพราะถ้าหากรับงานแบบที่ยังเป็นช่างสมัครเล่นเสี่ยงต่อการทำชิ้นงานเสียหายได้ เว้นแต่ว่าเป็นการทำงานเชื่อมสำหรับตนเอง ที่ไม่ได้เน้นลวดลายสวยงามอะไร อยากจะเก่งการเชื่อมแบบไหนให้ฝึกเยอะ ๆ เข้าไว้ หากความรู้ทั้งในแบบปฏิบัติและแบบข้อมูลมาประกอบกัน การพัฒนาตัวเองอยู่เสมอจะทำให้ฝีมือดีขึ้นจนกลายเป็นมืออาชีพได้แน่นอน

    เทคนิคการทำให้งานเชื่อมออกมาสวยถูกใจผู้ใช้งาน

    คำถามของหลายคนอาจจะสงสัยว่าจำเป็นด้วยหรือที่งานเชื่อมจะต้องสวย จริง ๆ มันก็ตอบยาก เพราะโจทย์คือการถูกใจผู้ใช้งาน ถ้าทำให้ลูกค้าก็ต้องถูกใจลูกค้า แต่ว่าถ้ามันออกมาสวยงาม มันดีกว่าการทำออกมาเละเทะแน่นอน ฉะนั้นช่างเชื่อมที่อยากจะเชื่อมชิ้นงานออกมาให้สวยจะต้องรู้ท่าทางที่จะเชื่อมในแต่ละแบบด้วย ประกอบกับใช้เครื่องเชื่อมเป็นและชำนาญ นอกจากความสวย ความถูกใจ มันยังรวมความปลอดภัยของช่างเข้าไปด้วย เพราะงานเชื่อมไม่ใช่ใครก็ทำได้ สำหรับท่าในการเชื่อมไฟฟ้านั้นจะมีดังนี้

    • เชื่อมแบบต่อเกยในท่าราบ ส่วนมากจะใช้สำหรับต่อรอยในงานอุตสาหกรรม ไม่ต้องใช้เวลาเยอะ การต่อเกยเชื่อมแบบนี้ทำงาน แข็งแรง ทุน ตอนทำงานไม่ต้องใช้ไฟแรง มุมของลวดที่ใช้จะอยู่ที่ 45 – 60 องศา จะค่อย ๆ เดินหน้า ถอยหลัง แบบนี้เรื่อย ๆ ในตอนทำงานเชื่อม การทำแบบนี้จะทำให้ชิ้นงานร้อนล่วงหน้าก่อนที่เราจะเชื่อมไปถึงอีก ร่องการจะเป็นแบบนูน ๆ
    • เชื่อมรอยต่อชนท่าราบ แบบนี้ในชิ้นงานที่เป็นโลหะแบบทั่ว ๆ ไปเลย จะนิยมกัน โดยความหนาของชิ้นงานจะเกิน ¼ นิ้ว พอเชื่อมรอยทั้ง 2 ด้านแล้วจะออกมาดีทีเดียว แข็งแรง แต่อยู่ที่ความซึมลุกของรอยด้วยนะ แต่ถ้าชิ้นงานหนา 3/16 นิ้ว ให้ทำงานเชื่อมเพียง 1 ด้านพอ รอยจะเว้นระยะเสมอ ความเอียงลวดจะอยู่ที่ 10 – 20 องศาไปทางด้านหน้า
    • เชื่อมรอยต่อรูตัว T ใน ท่าราบ จะเป็นงานเชื่อมที่ใช้ไฟสูง ทำให้โลหะชิ้นงานหลอมจนไหลได้ จะทำให้ซึมลงไปลึกสุดของรอยต่อเลย การบังคับลวดเชื่อมนั้นให้ไปทางมุมของรอยและชี้อยู่บนโลหะแผ่นที่ตั้งมากกว่านอน เอียงสัก 30 – 40 องศา งานเชื่อมนี้จะเคลื่อนลวดไปในความเร็วที่เท่า ๆ กัน จะเดินหน้า หลัง ยังไงก็ไปแบบสั้น ๆ เสมอกัน
    • เชื่อมในท่าขนานแนวนอน เรียกว่าขนานนอน จะต้องเชื่อมแบบบังคับลวดให้ขี้ขึ้นเป็นมุม 20 องศา สำหรับมือใหม่อาจจะยังเป็นงานเชื่อมที่ถือว่ายากพอตัวเหมือนกัน
    • เชื่อมท่าตั้ง ซึ่งยังมีแบ่งออกย่อย ๆ อีก 2 แบบ คือ เชื่อมขึ้น กับ เชื่อมลง โดยจะมีเทคนิคการบังคับลวดให้อยู่ในแนวตั้งกับพื้นชิ้นงานแล้วเอียงทำมุมที่ไม่เกิน 10 องศา การใช้ไฟในตอนเชื่อมจะต้องเท่า ๆ กัน การเชื่อมลงนั้นให้ปรับไฟขึ้น แล้วเอียงลวดที่ 15 – 20 องศา ลวดจะต้องตั้งฉากเหมือนกัน ตอนที่เริ่มงานเชื่อมให้ใช้ระยะอาร์คแบบสั้น ๆ
    • เชื่อมสูงเหนือศีรษะ ที่สุดของความยากในงานเชื่อมแล้วสำหรับท่านี้ เสี่ยงไม่เบาเลย ใครที่จะทำงานแบบนี้จะต้องมีความมืออาชีพพอสมควร ตอนทำงานจะต้องใช้ไฟสูง ระยะอาร์คสั้น การบังคับลวดจะต้องตั้งฉากกับพื้นชิ้นงานโลหะนั้น ๆ มุมเอียงที่ 10 องศา โดยประมาณ ทิศทางลวดจะเดินหน้า ถอยหลัง หรือจะส่ายก็ได้ตามถนัดของช่างแต่ละคนเลย

    ทั้งหมดนี้เป็นท่าในการเชื่อมที่ช่างที่ทำงานด้านนี้จะต้องฝึกและทำให้เป็น งานเชื่อมก็ถือว่าจะต้องใช้ศิลปะเหมือนกัน ไม่ใช่แค่ช่างที่ต่อโลหะเท่านั้นเอง ความสวยนั้นจะออกมาถูกใจมากน้อยแค่ไหนก็คงอยู่ที่ทักษะและความพอใจของแต่ละคนประกอบกันด้วย

    บทสรุป

    งานเชื่อมเป็นการใช้เครื่องเชื่อมในการต่อชิ้นงาน ต่อโลหะเข้าด้วยกัน โดยจะมีตัวสำคัญที่จะใช้ในงานนั้นคือลวดเชื่อม ส่วนจะทำให้ออกมาสวยได้มากขนาดไหนอยู่ที่ฝีมือช่างแต่ละคนเลย เป็นงานหนึ่งที่จะต้องอาศัยทักษะไม่น้อยเลย ใครจะเดินเส้นทางนี้ต้องฝึกเยอะหน่อยเพื่อหาประสบการณ์ ลงสนามจริงบ่อย ๆ จะคล่องเอง เป็นอะไรที่ความต้องการตลาดสูง เพราะการก่อสร้าง การประกอบ การประดิษฐ์ อะไรหลายต่อหลายอย่างยังคงต้องมีการเชื่อม ทำให้งานเชื่อมนั้นจะอยู่คู่กับหลายอย่างเลย และอย่าลืมคำนึงถึงความปลอดภัยด้วยในขณะที่ทำงาน จะทำให้การเชื่อมออกมาสวยงาม ใช้ได้จริง ปลอดภัย แข็งแรง ถูกใจผู้ใช้งาน ล้อรถเข็นUSA™

    Shopping Cart
    Scroll to Top